วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

โบราณสถานของนครไทย


ต้นจำปาขาว
       ต้นจำปาขาว อยู่ในท้องที่อำเภอนครไทยบริเวณวัดกลางนครไทย เป็นต้นไม้ดอกประเภทไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ ขนาดลำต้นวัดโดยรอบประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 9-10 เมตร ความแปลกที่แตกต่างจากต้นจำปาอื่นๆ คือ ต้นจำปาทั่วไป จะมีดอกเป็นสีเหลือง แต่ต้นจำปาต้นนี้ออกดอกเป็นสีขาวนวล มีกลิ่นหอมฟุ้งทั่วบริเวณวัด และถ้านำกล้าจำปาขาวไปปลูกที่อื่น ก็จะมีดอกเป็นสีเหลืองเหมือนดอกจำปาทั่วไป ดังนั้น จึงนิยมนำดอกจำปาขาวแช่ในน้ำบรรจุขวด เพื่อเป็นของที่ระลึก
     ประวัติความเป็นมา ของต้นจำปาขาว ชาวอำเภอนครไทยเชื่อกันว่า พ่อขุนบางกลางท่าวทรงปลูกไว้ เมื่อครั้งครองเมืองบางยาง(นครไทย) ต้นจำปาขาวจึงมีอายุประมาณ 700 ปีเศษ
      นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกเรื่องราวของต้นจำปาขาวว่าพ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยาง ทรงปลูกไว้เป็นอนุสรณ์คู่บ้านคู่เมือง ของเมืองบางยาง ซึ่งได้ปลูกไว้ที่วัด ๆ หนึ่งทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถวัดดังกล่าวนี้ ปัจจุบันก็คือ วัดกลางศรีพุทธาราม ดังนั้น จึงประมาณได้ว่า ต้นจำปาขาวปลูกก่อน ปี พ..1806
      หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จมาอำเภอนครไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2497 ได้ตรัสถามว่า "ต้นจำปาขาวที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถวัดกลางห่าง 7 วา นั้นยังอยู่ไหม" และได้เสด็จทอดพระเนตรต้นจำปาขาว
      ต้นจำปาขาว ได้รับการดูแลรักษาเนื่องจากลำต้นบางส่วนเป็นโพรงผุกร่อน ตั้งแต่ ปี พ..2528 เป็นต้นมา ปัจจุบันใต้ต้นจำปาขาวมีพระรูปของพ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งชาวนครไทยจัดพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประจำทุกปี 
ต้นจำปาขาว ยืนต้นคู่กับพ่อขุนบางกลางท่าว
ณ วัดกลางนครไทย
ถ้ำกา
     เป็นถ้ำขนาดเล็กมีความกว้างประมาณ 2–5 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตรเศษอยู่ห่างจากตัวอำเภอนครไทยไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร หน้าถ้ำมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น  พื้นถ้ำชื้นเพราะมีใบไม้ปกคลุมอยู่ ที่หลืบผนังถ้ำสูงกว่าระดับพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีภาพสลักหินตามแนวลึกของผนังถ้ำยาวประมาณ  6  เมตร  สลักเป็นภาพลายขูดขีด  หรือเส้นรูปกากบาดพาดกันไปมา  สลักลึกประมาณ 1 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับที่ภูพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี สันนิษฐานว่า    เป็นภาพแกะสลักหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ
รอยขูดขีดในถ้ำกา
การสืบค้นบรรพบุรุษของคนยุคก่อนบนถ้ำกา
ร่องรอยการกากบาทในผนังถ้ำ น่าจะเป็นที่มาของชื่อถ้ำกา
ความสำคัญของภาพสลักหินที่ถ้ำกา บนเขาช้างล้วง
    1.เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า พื้นที่ยอดเขาช้างล้วงเคยเป็นชุมชนโบราณที่มีอายุมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ
    2.แสดงถึงว่าบริเวณเมืองนครไทยน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของคนโบราณหรือเป็นเส้นทางเคลื่อนย้ายของคนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากเขตตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  เช่น  จังหวัดเลย  หรือบริเวณแม่น้ำโขง
    3.เป็นหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญที่น่าสนใจ พอที่จะจัดเป็นแหล่งนำทัศนศึกษา เพราะระหว่างทางจะมีธรรมชาติป่าไม้นานาชนิด นก ดอกไม้ป่า ลานก้อนหินปุ่มที่สวยงามและมียอดเขาช้างล้วงที่ทำพิธีปักธงชัย

ยอดเขาช้างล้วงสูงเสียดฟ้าท้าทายผู้กล้า สถานที่ปักธงชัยของพ่อขุนบางกลางท่าว
เมื่อ 700 กว่าปีก่อน เป็นภาพที่คุ้นเคยมากของนักท่องเว็บ
 วัดเหนือหรือวัดหน้าพระธาตุ     

     วัดเหนือหรือวัดหน้าพระธาตุ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ภายในตัวเมืองอำเภอนครไทย  สำรวจพบโบราณสถานที่สำคัญ คือ ใบเสมาศิลาทรายแกะสลัก 2 ด้าน ด้านหนึ่งแกะสลัก  เป็นรูปพระสถูปศิลปะแบบทวารวดีตอนปลาย  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17–18  ส่วนอีกด้านหนึ่งแกะสลักเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร  อิทธิพลสมัยล้านนาไทย  ผสมกับศิลปะสมัยสุโขทัย  สันนิษฐานว่าน่าจะแกะสลักขึ้นภายหลังด้านแรกและคงมีอายุไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 พระพุทธรูปองค์นี้ชาวนครไทยเรียกว่า  “หลวงพ่อเพชร”  ซึ่งเป็น พระพุทธรูปที่ชาวนครไทยเคารพนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
     ภายในบริเวณวัด แต่เดิมชาวบ้านเล่าว่า มีพระธาตุตั้งอยู่หน้าวัด ต่อมาปรักหักพังจึงสร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
 ศิลปะสมัยสุโขทัยองค์หนึ่ง ปัจจุบันได้พังทลายลงและภายในเจดีย์บรรจุพระเครื่องทำด้วยเงินและทองคำหลายองค์ ซึ่งบรรจุรวมอยู่กับเครื่องใช้ที่ทำด้วยเงินและทองเหลืองเป็นจำนวนมาก  สิ่งของดังกล่าว เป็นฝีมือของช่างสมัยโบราณที่ประณีต และงดงามมาก แต่ปัจจุบันของส่วนใหญ่ได้สูญหายไปยังคงเหลือเพียงเล็กน้อย  ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาไว้  และสถานที่ตั้งพระธาตุได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงพื้นบ้านแทน ส่วนพระอุโบสถเดิมศิลปสุโขทัย ปัจจุบันมีการสร้างอุโบสถใหม่ขึ้นบนฐานอุโบสถเดิม

ซุ้มประตูหน้าวัดเหนือ (วัดหน้าพระธาตุ)

ซุ้มประตูภายในวัด
 
ป้ายบอกว่า วัดนี้เป็นโบราณสถาน (จริงๆ)

หลวงพ่อเพชร

พระพุทธรูปางลีลา ใกล้กับหลวงพ่อเพชร
 วัดนครไทยวราราม  หรือวัดหัวร้อง     
ซุ้มประตูวัดนครไทยวรารามหรือหัวร้อง

วิหารหลวงพ่อใหญ่ ข้างในประดิษฐานพระแกะสลัก
จากไม้ เก่าแก่อายุหลายร้อยปี

เรือโบราณ ชื่อนางขุนโขน
 เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุขโทัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก เดิมมีศาลาการเปรียญมุงด้วยกระเบื้องไม้แบบโบราณ ซึ่งสวยงามและอ่อนช้อยมาก แต่ปัจจุบันได้ถูกรื้อลงและสร้างอุโบสถใหม่ขึ้นแทนสถาปัตยกรรมพื้นเมืองที่นับว่าเป็นอาคารทางพุทธศาสนา  หลังสุดท้ายที่เหลืออยู่ในวัดนี้ได้แก่ พระวิหารเก่าใช้มุงด้วยกระเบื้องไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ รวมทั้งสาวกซ้ายขวาอีก 2 องค์ ก็สร้างด้วยไม้เช่นกัน นับว่าเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่และสวยงามยิ่ง เดิมปลวกกินผุพัง เจ้าอาวาสวัดได้ทำการอนุรักษ์จนอยู่ในสภาพดีและเหมือนเดิม  นอกจากนั้นภายในบริเวณวัดยังพบร่องรอยการสร้างโบราณสถาน  เช่น  โบสถ์หรือวิหารมีลักษณะแผนผังแบบเดียวกับศิลปะสมัยสุโขทัย ปัจจุบันเหลือแต่ฐานส่วนตัวอาคารปรักหักพังหมดแล้ว
วัดกลางนครไทย    
     มีบางท่านเรียกวัดกลางศรีพุทธาราม ไม่ทราบเท็จจริงอย่างไร

     เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครไทยโบราณ  ในวัดมีโบราณวัตถุสถานที่สำคัญ  เช่น  พระอุโบสถเก่า  สันนิษฐานว่าสร้างโดยฝีมือช่างล้านนาไทยหรือช่างชาวพม่า  รอบ ๆ พระอุโบสถมีพัทธสีมาทำด้วยศิลาทรายสีแดง ซึ่งเป็นของเก่าแก่ตั้งอยู่โดยรอบ  ส่วนภายในอุโบสถใช้เป็นที่  ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญมีขนาดใหญ่ องค์คือ พระพุทธรูปสำริดศิลปะสมัยสุโขทัย  มีขนาดหน้าตักกว้าง 53 ซม.สูง 68 ซม.และพระพุทธรูปศิลานาคปรก ปางสมาธิศิลปะสมัยลพบุรี 2 องค์  องค์หนึ่งสร้างเสร็จแล้วแต่มีส่วนชำรุดมีขนาดหน้าตักกว้าง 65 ซม.สูง 177 ซม.(เฉพาะองค์พระพุทธรูปสูง 1 เมตร) ส่วนอีกองค์หนึ่งอยู่ในสภาพเป็นโกลน  จัดเป็นศิลปะลพบุรีมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18–19 ซึ่งองค์พระพุทธรูปมีรูปร่างหน้าตาเป็นแบบศิลปะท้องถิ่นมากกว่าจะเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ปัจจุบันพระพุทธรูปสำริดศิลปะสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะสมัยลพบุรี  (องค์สมบูรณ์ได้ถูกโจรกรรมสูญหายแล้ว

ต้นจำปาขาวอายุกว่า 700 ปี เชื่อว่าพ่อขุนบางกลางท่าว
ทรงปลูกอธิษฐานเสี่ยงทายก่อนออกทำศึกกับขอม
ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ต้นนี้จึงมีส่วนกับการประกาศเอกราชของชาติไทย...ว่ามั้ย
     บริเวณวัดกลาง มีต้นจำปาขาวเก่าแก่หลายร้อยปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นจำปาที่พ่อขุนบางกลางท่าวปลูกไว้  ทางวัดจึงได้บูรณะบริเวณใต้ต้นจำปาขาว เพื่อให้ชาวบ้านประกอบพิธีบวงสรวงได้สะดวก  ตลอดจนเป็นที่สักการะแก่ผู้มาเยือนอำเภอนครไทย

ซุ้มประตูด้านหน้าวัดกลาง
แต่คนมักจะเข้าใจว่าเป็นด้านหลังวัด
พระอุโบสถเก่า สร้างด้วยช่างล้านนา/พม่า
รายล้อมด้วยพัธสีมาศิลาแลง

หลวงพ่อหิน แต่อัศจรรย์ลอยน้ำได้

อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางท่าวสร้างโดยกรมศิลปากร
เป็นภาพที่คุ้นเคยที่สุดของนักท่องเว็บ/นักท่องเที่ยว
ไม่นานจากนี้ไป จะมีอนุสาวรีย์ของพ่อขุนฯ ขนาดใหญ่
อลังการ เป็น Landmark ของนครไทยก่อนเข้าตัวเมือง

อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางท่าวที่นักท่องเว็บ
ไม่คุ้นเคย สร้างโดยช่างชาวนครไทยผู้ศรัทธา
สร้างมาก่อนที่กรมศิลป์จะสร้างองค์ใหญ่ด้านหน้า 
มีขนาดเล็กเพียงประมาณ 1 ใน 3 ขององค์ใหญ่
 
ข้อมูล/ภาพบางส่วน : อ.สุภาพรรณ  วงศ์สมบัติ
ครู คศ.3 โรงเรียนนครไทย
เรียบเรียง/ต่อเติ่ม/แต่งเติม : สุรัตน์ วิทักษาบุตร
supan2475@gmail.com





2 ความคิดเห็น:

  1. JT Casino & Hotel - Promotions, Deals & Reviews
    View JT Casino 부천 출장안마 & Hotel 아산 출장샵 promotions, 순천 출장샵 promotions, opening hours and a full casino room 대전광역 출장마사지 at JT Casino & Hotel in 부천 출장샵 Phoenix, AZ.

    ตอบลบ
  2. กำธร เสนจันทร์ฒิไชย30 สิงหาคม 2565 เวลา 00:01

    นักวิชาการ - นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า....วันนั้นในอดีต..ไม่มี...พ่อขุนบางกลางท่าว..เจ้าเมืองบางยาง(ปัจจุบันคือ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก) ย่อมไม่มีอาณาจักรสุโขทัย..และ..อาจไม่มีราชอาณาจักรสยามไทย ณ วันนี้

    ตอบลบ